หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก

Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

  • ชื่อเต็ม : เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)
  • ชื่อย่อ : ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

ภาษาอังกฤษ

  • ชื่อเต็ม : Master of Pharmacy (Clinical Pharmacy)
  • ชื่อย่อ : M.Pharm (Clinical Pharmacy)

จุดเด่นของหลักสูตร

  1. เป็นหลักสูตรที่เรียนเสาร์-อาทิตย์และเรียนออนไลน์
  2. อาจารย์มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญด้านการทำงานและการวิจัย
  3. อาจารย์มีความเป็นกันเองและใส่ใจนิสิต
  4. มีแหล่งฝึกและอาจารย์ประจำแหล่งฝึกที่มีมาตรฐาน
  5. มีแผนการเรียนให้เลือกทั้งแบบทำวิจัยเป็นหลัก และฝึกงานร่วมกับการทำวิจัยจากงานประจำ
  6. มีวิชาเลือกที่หลากหลายและ มีวิชาใหม่ที่ทันสมัย เช่น สุขภาพดิจิทัล และ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานเภสัชกรรมคลินิกในต่างประเทศ
  7. มีระบบสะสมคลังหน่วยกิต สามารถเทียบโอนหน่วยกิตจากการฝึกอบรมมาแทนการเรียนในบางรายวิชาได

การจัดการเรียนการสอน

หนึ่งปีการศึกษามี 2 ภาคการศึกษา (ภาคต้น และภาคปลาย) โดยจัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์

ระยะเวลาการศึกษา

ไม่เกิน 5 ปี

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

หลักสูตรแบบ 1 (แผน ก แบบ ก 1) ระบบนอกเวลาราชการ

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเภสัชศาสตรบัณฑิต
2) เกรดเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 3.25 หรือ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
3) มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือ ฐานข้อมูลระดับ นานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่องที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้อง เป็นผลงานตีพิมพ์ที่สะท้อนความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ หรือมี ประสบการณ์ในการทำงานหรือวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หลังสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน
4) เสนอเค้าโครงวิจัย (Research Proposal) ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชาและได้รับการ ยอมรับจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ คณะกรรมการพิจารณาการอนุมัติเค้าโครงวิจัยที่ คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะแต่งตั้ง
5) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม
6) ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับข้อ 1) หรือ 2) หรือ 5) ข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะ กรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ในการพิจารณารับเข้าศึกษา

หลักสูตรแบบ 2 (แผน ก แบบ ก 2) ระบบนอกเวลาราชการ

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเภสัชศาสตรบัณฑิต โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีประสบการณ์การทำงานโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปีและ/หรือ
2) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม และ/หรือ
3) ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่กล่าวในข้อ 1) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครและเข้าศึกษาต่อได้ โดยมีประสบการณ์การปฏิบัติงานทางด้านเภสัชกรรมคลินิก ไม่ต่ำกว่า 2 ปีซึ่งได้รับการรับรองจากหัวหน้า หน่วยงานต้นสังกัด และ/หรือ
4) ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับข้อ 1) หรือ 2) หรือ 3) ข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะ กรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ในการพิจารณารับเข้าศึกษา

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 37,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 39 หน่วยกิต

จำนวนรับเข้าศึกษา

ไม่จำกัด

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร

2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ

37,000 /ภาคการศึกษา