Page 33 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 33

ึ้
                                                                                       ิ่
                                                                           ื่
                  เสียหาย ให้ศาลมีอ านาจสั่งให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพอการลงโทษเพมขนจากจ านวนค่าสินไหม
                  ทดแทนที่แท้จริงที่ศาลก าหนดได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงนั้น
                  ทั้งนี้ โดยค านึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ การที่ผู้ประกอบการรู้
                  ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการปกปิดความไม่ปลอดภัยของสินค้า การด าเนินการ

                  ของผู้ประกอบการเมื่อทราบว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับ สถานะ

                  ทางการเงินของผู้ประกอบการ การที่ผู้ประกอบการได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้เสียหาย
                  มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย


                                                                                                        ั
                                                         ั
                         มาตรา 12 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอนเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัตินี้เป็นอนขาด
                                                                                                           ้
                  อายุความเมื่อพนสามปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือเมื่อพน
                               ้
                  สิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น
                         ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ใน

                  ร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟองคดีแทนตาม
                                                                                                ้
                  มาตรา 10 ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด
                  แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย




                  2.4 กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ


                         2.4.1 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 (พ.ร.บ. อาหาร)

                          “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ าจุนชีวิต ได้แก  ่

                         (1)  วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือน าเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่

                  รวมถึงยา วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี
                         (2)  วัตถุที่มุ่งหมายส าหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และ

                  เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส

                         “อาหารควบคุมเฉพาะ” หมายความว่า อาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหาร

                  ที่อยู่ในความควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐาน

                         มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต น าเข้าเพื่อจ าหน่าย หรือจ าหน่าย ซึ่งอาหารดังต่อไปนี้

                         (1)  อาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งหมายถึง อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วยอาหารที่
                  มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง เว้นแต่การเจือปนเป็นการ
                                             ั
                  จ าเป็นต่อกรรมวิธีผลิต การผลิต และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บ

                  รักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้ และอาหารที่มีภาชนะบรรจุ





                                                                                                             20
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38