Page 105 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 105

4.7 วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

                         วัตถุที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาทส่วนหนึ่งเป็นวัตถุเสพติดและมีการใช้ในทางการแพทย์ วัตถุที่มี

                  คุณสมบัติออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแต่ยังมิได้ประกาศให้เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จะไม่ใช่วัตถุ

                  ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมาย

                         ค าจ ากัดความ

                         ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 (ราชกิจจานุเบกษา, 2559b)

                  “วัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ

                  หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศก าหนด

                         ตัวอย่างของสิ่งที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมาย เช่น ยานอนหลับ ยาคลายวิตก

                  กังวล ไดอะซีแพม เพนโตบาร์บิทอล ยาลดความอ้วนบางตัว เป็นต้น

                         ประเภทและขอบเขตเพื่อการควบคุม

                         ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

                  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

                         (1)  ประเภทที่ 1 วัตถุออกฤทธิ์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจก่อให้เกิดการน าไปใช้ หรือมีแนวโน้ม
                  ในการน าไปใช้ในทางที่ผิดสูง

                         (2)  ประเภทที่ 2 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจก่อให้เกิดการน าไปใช้ หรือมีแนวโน้มใน
                  การน าไปใช้ในทางที่ผิดสูง

                         (3)  ประเภทที่ 3 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจก่อให้เกิดการน าไปใช้ หรือมีแนวโน้มใน

                  การน าไปใช้ในทางที่ผิด
                         (4)  ประเภทที่ 4 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจก่อให้เกิดการน าไปใช้ หรือมีแนวโน้มใน

                  การน าไปใช้ในทางที่ผิดน้อยกว่าประเภท 3

                         ผู้ที่จะซื้อวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปขายจะต้อง

                         (1)  ได้รับ “ใบอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่ 3 หรือประเภทที่ 4” จากส านักงาน
                  คณะกรรมการอาหารและยา

                         (2)  เป็นผู้ได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา

                         (3)  มีเภสัชกรอยู่ประจ าการตลอดเวลาท าการ และ
                         (4)  ต้องจัดท ารายงานประจ าเดือน รายงานประจ าปี แสดงการรับ-จ่าย วัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่ 3

                  หรือประเภทที่ 4 ให้ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยาทราบ









                                                                                                             92
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110