Page 205 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 205

11.4  ผู้บริโภคต้องรักษา “สิทธิ” ผู้ประกอบการธุรกิจต้องรักษาคุณธรรม


                        ก่อนที่ผู้บริโภคทั้งหลายจะไปรับทราบถึงขั้นตอนการร้องทุกข์นั้น ผู้บริโภคควรต้องทราบถึงประเภทของ

                 ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหลังจากการใช้สินค้าและบริการเสียก่อน เมื่อคนเราได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพไป

                 แล้วนั้นอาจส่งผลให้เกิดผลดีและผลเสียต่อร่างกายได้ ในแง่ของการเกิดผลดี เช่น กินวิตามินบ ารุงร่างกายแล้วรู้สึก
                                                                      ึ
                 ว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ก็จะสร้างความพงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ในทางกลับกันหากเกิดผล
                 เสียหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพ เช่น กินวิตามินบ ารุงแล้วเกิดผื่นแดงขึ้นทั่วตัว เป็นต้น กรณีนี้ถือ
                 ว่าเกิดผลเสียจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพ ผู้บริโภคมีโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ แต่ก่อนที่จะร้องทุกข์นั้น

                 ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลเสียที่เกิดขึ้นนั้นมากจาก “ผลิตภัณฑ์” หรือ “บริการ” ที่ไม่มีคุณภาพจริง
                 ๆ ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากผลเสียที่เกิดขึ้นต่อร่างกายหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นอาจเกิดได้จาก 2

                 เหตุผลหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

                        1. การแพ้ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นบางอย่างที่ผิดปกติ และแสดงออกด้วย

                 อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการหายใจไม่ออก ปากและตาบวม มีผื่นคันขึ้นทั่วตัว เป็นต้น ซึ่งสิ่งกระตุ้นให้เกิดการ

                                                                                          ุ
                 แพ้นี้อาจเป็น ยา อาหาร ฝุ่น เกสรดอกไม้ และอื่น ๆ ได้ แต่การแพ้นั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทกคน ดังนั้นในคนที่เคยมี
                 ประวัติว่าแพ้สารตัวใดตัวหนึ่งจึงถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล


                        2. การเกิดอาการข้างเคียง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ
                 บางอย่าง เช่น ยาบางชนิดท าให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร การใช้บริการนวดอาจท าให้เกิดรอยฟกช้ าตาม

                 กล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้มักจะเกิดขึ้นกับทุก ๆ คน

                        เนื่องจากผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่กล่าวไว้ทั้งสองแบบนั้น อาจเกิดขึ้นกับใคร

                 เมื่อใดก็ได้ ดังนั้นในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่ง

                 กล่าวไว้ในบทที่ 1 จึงก าหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการ ที่จะต้องชี้แจงรายละเอยด
                                                                                                           ี
                 ของผลเสียต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคทราบ ดังนั้นหลังจากที่ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการชนิดใด ๆ แล้วเกิดผล

                                                                                                ้
                 เสียบางอย่างขึ้น ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบและแยกแยะให้ดีว่าผลเสียนั้นไม่ได้เกิดจากการแพซึ่งเป็นเหตุการณ์
                                                                                                      ั้
                 เฉพาะบุคคล หรือไม่ได้เกิดจากอาการข้างเคียงของผลิตภัณฑ์ หากแน่ใจแล้วว่าผลเสียนั้นไม่ได้เกิดจากทงสองกรณี
                 ดังกล่าว ก็สามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เราได้รับนั้นอาจมีความผิดปกติหรือไม่มีคุณภาพ และ

                 เตรียมตัวร้องทุกข์ได้

















                                                                                                           192
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210