Page 200 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 200

10.5 การสื่อสารสาธารณะ


                          การสื่อสารข้อมูลสุขภาพผ่านการ “สื่อสารสาธารณะ” ช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนพลังทาง
                   สังคมและน าสู่การขับเคลื่อน “นโยบายสาธารณะ” ได้ โดยผ่านการสื่อสารข้อมูลออกไป กระตุ้นให้

                   เกิดการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค สร้างชุมชนนักปฏิบัติ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ

                   เช่น การเปลี่ยนแปลงการรับรู้ (perception) ความรู้ (knowledge) ทัศนคติ (attitude) และ
                   พฤติกรรม (behavior) (ดนัย หวังบุญชัย, 2552) ดังนั้นการสื่อสารสาธารณะที่มีประสิทธิภาพจึงเป็น

                   เครื่องมือหนึ่งส าหรับการสร้างเสริมศักยภาพและภูมิคุ้มกันของผู้บริโภค โดยการเปลี่ยนจากองค์
                   ความรู้ทางวิชาการ ทั้งทางทฤษฎี ความรู้จากงานวิจัย หรือความรู้ในตัวคน ให้กลายเป็นศักยภาพของ

                                                                                             ื
                   คนในชุมชน ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางชุมชนและสังคมอย่างเหมาะสม อันจะเป็นฟันเฟองและฐาน
                   ที่ส าคัญในการผลักดันให้เกิดนโยบายหรือกฎหมายที่ดีต่อไปได้ด้วยในภาพรวมแล้วการสื่อสาร
                   สาธารณะที่ดีจึงเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาตามแนวคิดของ ศ.นพ.

                   ประเวศ วะสี เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้นเพราะหากภาคประชาชนเข้มแข็งและมีการสื่อสารที่ดี

                   ระหว่างแต่ละภาคีย่อมน าสู่การขับเคลื่อนงานหรือนโยบายทางสุขภาพต่าง ๆ ที่จ าเป็นส าหรับสังคมได้
                   (รูปที่ 10-3 ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา (ปรับจากแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี)



                                                ภาคการเมือง :

                                            การเชื่อมโยงทางนโนบาย



                                                                              เป็นฐานให้

                                               การสื่อสารประเด็น

                                               สุขภาพและสังคม
                            ภาควิชาการ:                                 ภาคประชาสังคม: การ
                         การสร้างองค์ความรู้                             เคลื่อนไหวทางสังคม


                                เปลี่ยนความรู้เป็น package ที่สังคมเข้าใจได้ง่าย


                      รูปที่ 10-3 ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา (ปรับจากแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

















                                                                                                   187
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205