Page 195 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 195

ชัดเจนและสามารถขยายผลได้ในระดับกว้าง กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารของเราอาจขยับเป็นกลุ่ม

                                  ื่
                                                    ั
                   สื่อสารมวลชนเพอให้ช่วยประชาสัมพนธ์ข้อมูลออกไปในวงกว้างมากขึ้น กลุ่มภาคนโยบายหรือ
                                ื่
                   หน่วยงานรัฐเพอให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้านนโยบาย กลุ่มองค์การภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่
                   กลุ่มต่อต้านเราก็ตาม




                   10.3 เนื้อหาสาร (Message)

                          ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร จะเป็นปัจจัยก าหนดเนื้อหาสารที่จะใช้ในการสื่อสาร

                   ทั้งนี้ เนื้อหาหลัก (key message) นอกจากจะเป็นเนื้อหาที่ตอบโจทย์การสื่อสารที่ต้องการ
                   ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายแล้ว จะต้องมีลักษณะของเนื้อความที่เข้าใจได้ง่าย ท าให้กลุ่มเป้าหมาย

                   เข้าใจสาระส าคัญของการรณรงค์ได้ทันที ควรเป็นเนื้อหาที่น าไปสู่การปฏิบัติ (action)

                   ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง (ดนัย หวังบุญชัย, 2552)

                          ในกรณีที่เป็นการสื่อสารสาธารณะในลักษณะของข่าว องค์ประกอบส าคัญควรประกอบด้วย

                   5W และ 1H คือ ระบุว่า ใคร (who) ท าอะไร (what) ที่ไหน (where) เมื่อไหร่ (when) ท าไม (why)
                                                               ื่
                   และอย่างไร (how) โดยประเด็นที่ต้องให้ชัดเจนเพอสร้างความเด่นและความยั่งยืนของข่าว คือ
                   ความชัดเจนของประเด็น ท าไม และ อย่างไร ทั้งนี้ ผู้ส่งสารจะต้องรู้จักฝึกจับประเด็น จัดล าดับ

                   ความส าคัญของเนื้อหาเป็นประเด็นหลักและประเด็นรอง ฝึกวิธีการเล่าเรื่อง และการน าเสนอข่าว
                   โดยต้องหาให้ได้ว่าประเด็นเนื้อหาส่วนใดมุมใด ที่เป็นประเด็นที่จับต้องได้ หรือสร้างความรู้สึกร่วมของ

                   ผู้รับสารได้บ้าง ไม่ใช่ว่าผู้รับสารได้ยินเข้าหูซ้ายแล้วก็ทะลุออกหูขวาไป โดยไม่เกิดการกระตุกความ

                   รับรู้ของผู้รับสารเลย

                                                           ื่
                          ในการเขียนเนื้อหาข่าวหรือเรื่องเล่า เพอการสื่อสารและสร้างความรู้สึกร่วม ผู้ส่งสารจะต้อง
                   หาตัวละครหลัก (เช่น ครู พระ เด็ก นักเรียน แม่บ้าน เป็นต้น) หาตัวละครที่เป็นผู้ร้าย (ตัวปัญหา)
                   หรือผู้ดี (ผู้ที่เป็นต้นแบบ role model ของสิ่งที่อยากให้เกิด) หาจุดเปลี่ยน (อะไรที่จะท าให้ผู้รับสาร

                   เกิดสะดุดใจและเปลี่ยนแปลง ที่ไหน อย่างไร) และระบุความรู้สึกหรือการตอบโจทย์ด้านการคุ้มครอง
                   ผู้บริโภคโดยแหล่งข่าวเอง


                          ทั้งนี้ สารที่ส่งไปนั้น จะต้องมี สาระ ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ ในขณะเดียวกัน ก็ต้อง
                   กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าประสงค์ได้ด้วย หลายครั้งจึงจะได้ยินค าว่า“edutainment”

                   คือ นอกจากจะสื่อสารให้ความรู้แล้ว ยังสร้างความบันเทิงไม่จ าเจซ้ าซาก ท าให้ผู้รับสารรู้สึกสนุกใน

                   การเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ไปพร้อมกันด้วย








                                                                                                   182
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200