Page 23 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 23
บทท 2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ี่
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง และ กฤษณี สระมุณี
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน และเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อมมีโอกาสเกิดความขัดแย้ง
ความเอาเปรียบผลประโยชน์ระหว่างกันและกัน ดังนั้นเพอเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขจึงจ าเป็นต้องมีการ
ื่
ก าหนดกฎ กติกา และข้อบังคับที่เป็นที่ยอมรับเพอควบคุมหรือลดความขัดแย้งในสังคม และเมื่อใดที่สังคมของ
ื่
ั
เรามีการพฒนาเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้น กฎ กติกา และข้อบังคับของสังคมก็ต้องมีการพฒนาหรือปรับเปลี่ยน
ั
เช่นกัน เป้าหมายหลักคือเพอใช้เป็นเครื่องมือควบคุมความขัดแย้งของคนในสังคมให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ื่
จึงเป็นที่มาของค าว่า “กฎหมาย” ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายใช้ควบคุมและลดความขัดแย้งในสังคม กฎหมายจึง
มีอ านาจที่จะบังคับสมาชิกในสังคมทุกคนให้ปฏิบัติตาม โดยยึดหลักการเบื้องต้น คือ สมาชิกในสังคมทุกคนต้อง
รู้กฎหมาย ดังนั้นสมาชิกในสังคมจะปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่รู้กฎหมาย กฎหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปมีทั้งกฎหมายพื้นฐาน
่
ที่ควบคุมพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ เช่น กฎหมายแพง กฎหมายอาญา เป็นต้น ในการเป็นผู้บริโภค
ด้านสุขภาพที่ดีนั้นก็ต้องรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองตนเอง และสิทธิที่ควรมีควรได้ของการเป็น
ผู้บริโภค ในบทนี้จะกล่าวถึงสาระส าคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
เนื้อหา
• ความรู้เรื่องกฎหมายระดับพื้นฐาน
• ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552
• กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
• กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ
• กฎหมายบริการสุขภาพ
• สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
2.1 ความรู้เรื่องกฎหมายระดับพื้นฐาน
2.1.1 คุณลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายมีลักษณะ 2 ประการ คือ
1. ต้องเป็นกฎเกณฑที่เป็นแบบแผน โดยเป็นกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเป็น
์
มาตรฐานชี้ว่าการกระท าอย่างหนึ่งอย่างใด ผิด-ถูกหรือไม่ อย่างไร