Page 116 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 116
ประหยัดเงินในกระเป๋าได้ด้วย ผู้บริโภคต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่
สามารถโฆษณาสรรพคุณไปในลักษณะรักษา บรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ หากจ าเป็นที่จะต้องบริโภคผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารผู้บริโภคต้องศึกษาถึงผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์หรือหากไม่แน่ใจ
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ปลอดภัยที่สุด
5.9 ข้อพึงปฏิบัติของผู้บริโภคส าหรับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
1. ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ โดยฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประกอบด้วย ชื่ออาหาร เลขสารบบ
อาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้น าเข้า ปริมาณที่บรรจุในภาชนะ ปริมาณสารอาหาร การระบุสารอื่น ๆ ที่มี
การปรุงแต่งเพิ่มเติม การระบุคุณประโยชน์หรือสรรพคุณซึ่งจะต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินจริงหรือเกินขอบข่ายของ
การเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วันเดือนปี ที่ผลิต และหมดอายุ ค าแนะน าการใช้ การเก็บรักษา และค าเตือน
2. ตรวจสอบการโฆษณา โดยการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะต้องไม่โฆษณาคุณประโยชน์
คุณภาพ หรือสรรพคุณที่เป็นเท็จหรือหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร และการโฆษณาทางสื่อ
ื่
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อน หรือด้วยวิธีอน
ื่
ใด เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องน าเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้น ให้ผู้อนุญาต
ิ
ตรวจพจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ซึ่งข้อสังเกตคือ การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ไม่สามารถโฆษณาว่ามีผลในการบ าบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการชองโรค รวมถึงจะต้องไม่
โฆษณาว่ามีผลในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายด้วย
5.10 ค าถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายของค าว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”
2. ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของ อาหารอันเป็นเท็จ จะมีบทลงโทษอย่างไร
3. ฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
103