การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย 67

 

ลงทะเบียนงานประชุม

   

การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา
การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้

เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป

              การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและการประเมินผลนโยบายด้านยาและสุขภาพ (implementation and evaluation of pharmaceutical and health policy) มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรในการดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานเภสัชกรรมและระบบสุขภาพให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยและประชาชนให้มีความปลอดภัยในการใช้ยา ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ ตลอดจนการมีสุขภาพและ
ความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม  เภสัชกรจึงตต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง นโยบายด้านยาและสุขภาพ ระบบนิเวศ
ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และความซับซ้อนของการดำเนินงาน การสื่อสารนโยบาย การขับเคลื่อนและการต่อรอง

เชิงนโยบาย การวางแผนและการติดตาม และเครื่องมือประเมินผลนำนโยบายสู่การปฏิบัติ การเสริมพลังแก่บุคลากรและประชาชน

              คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้นนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านการบริหารเภสัชกิจเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและความเชี่ยวชาญให้แก่เภสัชกรต่อไป

         งานประชุมวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่  27 – 29 พฤษภาคม  2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการในครั้งนี้ จะได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน 30 หน่วยกิต

กำหนดการประชุม

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567

  • Course introduction / Introduction to policy implementation and evaluation (concepts/frameworks and policy process)
  • Pharmaceutical and health policy (current situation and trend, landscape and ecosystem)
  • Implementation science – theories and frameworks of implementation research
  • Stakeholder analysis and engagement

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567

  • Policy communication, advocacy and negotiation

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567

  • Implementation strategy and plan (strategies to enhance effective implementation & plan for monitoring, support and empowerment)
  • Case studies on policy implementation
    1. Province/Community: RDU and other policies
    2. Hospital: RDU/AMR and other policies

วันที่ 26 สิงหาคม 2567

  • Program evaluation (concepts/models, process and evaluation framework)
  • Program performance indicators and measures (quantitative and qualitative)

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567

  • Qualitative methods and techniques to understand context and insightful data for evaluation
  • Case studies on evaluation of pharmacy policy
    1. RDU/AMR, telepharmacy, pharmacy services
    2. RDU community, primary care pharmacy

กลุ่มเป้าหมาย

เภสัชกร

ค่าลงทะเบียน  5000 บาท  

สามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2567

ดาวน์โหลดเอกสาร

กำหนดการ
หนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน

บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการและบริการวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ (โดยนางสาวชนัตถา พลอยเลื่อมแสง)
เลขที่บัญชี 415-070-480-9

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร

โทรศัพท์ : 043-754360 ผู้ประสานงาน คนึงศรี นิลดี
E-mail : pharmacy@msu.ac.th

รายชื่อผู้ลงทะเบียน

นิตยา นารีจันทร์