การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอายุรกรรม 2567

[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”2129″ img_size=”full”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text] 

ลงทะเบียนงานประชุม

      ปัจจุบันเภสัชกรในประเทศไทยส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล (ร้อยละ 32.8 ในปี พ.ศ. 2555) ทำให้มีการขยายงานและมีบทบาทสำคัญในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมมากขึ้น การทำงานกับผู้ป่วยต้องใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการทำงานในโรงพยาบาลมีการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานด้วยระบบการประเมินและรับรองโรงพยาบาล (Hospital accreditation) ดังนั้น การปฏิบัติงานของเภสัชกรบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมจำเป็นต้องมีการทบทวนความรู้ให้ทันสมัยเสมอ มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยเรื่องการใช้ยา สามารถค้นหาปัญหาการใช้ยา แก้ไขและป้องกันปัญหาจากการใช้ยา ซึ่งหมายถึงมีทักษะการบริบาลทางเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากถึง 45,002 ครั้ง โดยเภสัชกรสามารถลดความรุนแรงจากปัญหาการใช้ยา ค่าใช้จ่ายในการใช้ยา และส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมได้ นอกจากนี้เภสัชกรต้องมีทักษะและความสามารถในการสืบค้นข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เล็งเห็นความจำเป็นดังกล่าวจึงได้มีการเปิดอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม (สาขาอายุรกรรม) เพื่อผลิตเภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยใน ดังนั้นจึงมีการจัดประชุมวิชาการเรื่อง การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยในหออายุรกรรม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวและผู้สนใจได้เพิ่มพูนความรู้ด้านบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน ให้มีความรู้ความเข้าใจในโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยอายุรกรรม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อที่พบบ่อย โรคไต โรคตับ โรคลมชัก การดูแลผู้ป่วยวิกฤตเบื้องต้น การติดตามวัดระดับยาในเลือด โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคหลอดลมอุดกั้น และโรคหอบหืด

         งานประชุมวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่  1 – 9 พฤษภาคม  2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการในครั้งนี้ จะได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน 30 หน่วยกิต

กำหนดการประชุม

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567

  • Introduction to the program
  • Critical care
  • Pharmacotherapy in gastrointestinal disorders

วันที่ 2 พฤษภาคม 2567

  • Critical care
  • Pharmacotherapy in cardiovascular diseases
  • Pharmacotherapy in endocrinology

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

  • Pharmacotherapy in kidney diseases
  • Therapeutic drug monitoring (TDM)
  • Drug allergy: approaches to drug allergy for pharmacists

วันที่ 8 พฤษภาคม 2567

  • Research methods for pharmacists
  • Evidence-based medicine: how to evaluate clinical studies for journal club presentation?
  • Respiratory disorders

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567

  • Pharmacotherapy in cardiovascular diseases
  • Drug-induced diseases (ADRs type A):
  • Pharmacotherapy in infectious diseases

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row css=”.vc_custom_1703746787955{background-color: #7099bf !important;}”][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]กลุ่มเป้าหมาย

เภสัชกร

ค่าลงทะเบียน  5000 บาท

ดาวน์โหลดเอกสาร

กำหนดการ
หนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน

บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการและบริการวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ (โดยนางสาวชนัตถา พลอยเลื่อมแสง)
เลขที่บัญชี 415-070-480-9

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร

โทรศัพท์ : 043-754360 ผู้ประสานงาน คนึงศรี นิลดี
E-mail : [email protected][/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]

รายชื่อผู้ลงทะเบียน

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]

นิตยา นารีจันทร์

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]