การวิจัยและพัฒนางานเภสัชกรรมสุขภาพ 2567

 

ลงทะเบียนงานประชุม

   

การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้
เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป

              การวิจัยและพัฒนางานเภสัชกรรมและระบบสุขภาพ (Research and Development of Pharmacy and Health System)
มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรและบุคลากรด้านสุขภาพในการปฏิบัติงานตามห่วงโซ่อุปทานของระบบยา การบริหารจัดการเชิงระบบและปรับปรุงพัฒนาระบบงานบนฐานขององค์ความรู้เพื่อนำสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อาทิ การวิจัยและพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์และการกระจายยาไปยัง รพสต. การผลิตยาและสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย การดูแลผู้ป่วยทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การจัดการระบบยาและสุขภาพในชุมชนและในสถานพยาบาล และการควบคุมกำกับกฎหมายข้อบังคับเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยและประชาชนให้มีความปลอดภัยในการใช้ยา ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ ตลอดจนการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม 

              นอกจากนี้การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยด้านยาและสุขภาพ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการทำวิจัยทั้งระดับบุคคลและองค์กร และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพและยกระดับองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบของการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นให้บุคลากรมีการทำวิจัย และกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร องค์ความรู้และประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุขและสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ มีการกำหนดให้บุคลากรสามารถขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการในระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ โดยผู้ขอรับการประเมินต้องมีผลงานวิชาการในลักษณะงานวิจัยที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพของตนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและประกอบการพิจารณาเพื่อเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นต่อไป

              คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้น การวิจัยและพัฒนางานเภสัชกรรมและระบบสุขภาพขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านการบริหารเภสัชกิจ

         งานประชุมวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่  13 – 17 พฤษภาคม  2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการในครั้งนี้ จะได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน 30 หน่วยกิต

กำหนดการประชุม

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567

  • ความสำคัญและความท้าทายในการพัฒนาความเชี่ยวชาญของเภสัชกรด้านการบริหารเภสัชกิจ
  • การวิจัยและพัฒนาระบบงาน และสถานการณ์ตำแหน่ง R&D ของเภสัชกร

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567

  • Critical care
  • Pharmacotherapy in cardiovascular diseases
  • Pharmacotherapy in endocrinology

วันที่ 15 พฤษภาคม 2567

  • Mixed methodology and Action research
  • Sample selection and source of data
  • Data collection

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567

  • Measurement and psychometric property
  • Analysis plan and common used statistics

วันที่ 17 พฤษภาคม 2567

  • Dissemination and utilization of research findings

กลุ่มเป้าหมาย

เภสัชกร

ค่าลงทะเบียน  5000 บาท  

สามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2567

ดาวน์โหลดเอกสาร

กำหนดการ
หนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน

บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการและบริการวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ (โดยนางสาวชนัตถา พลอยเลื่อมแสง)
เลขที่บัญชี 415-070-480-9

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร

โทรศัพท์ : 043-754360 ผู้ประสานงาน คนึงศรี นิลดี
E-mail : pharmacy@msu.ac.th

รายชื่อผู้ลงทะเบียน

นิตยา นารีจันทร์