Site Overlay

Encouraging student participation

Encouraging student participation การกระตุ้นให้นิสิตมีส่วนร่วม

“Group members will be more likely to contribute to a discussion if they feel they are in a safe, comfortable environment.”

เทคนิคการกระตุ้นให้นิสิตมีส่วนร่วม

  • เปิดโอกาสให้นิสิตถามแบบไม่ต้องแสดงตัว
  • ให้นิสิตได้คิดหรืออภิปรายแบบที่จะไม่ส่งผลต่อเกรด
  • ให้นิสิตได้เริ่มอภิปรายในกลุ่มย่อยก่อนที่จะให้แลกเปลี่ยนในกลุ่มใหญ่
  • ใช้สื่อออนไลน์เป็นพื้นที่ในการอภิปราย เพราะนิสิตบางคนอาจไม่มีโอกาสในห้องเรียนใหญ่
  • ให้นิสิตได้มีโอกาสผลัดเปลี่ยนกันถามตอบหรือเขียนกระดาน
  • สนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทำของนิสิตในเชิงบวก เช่น อ่านความคิดเห็นของนิสิตแบบออกเสียง เขียนความคิดเห็นของนิสิตบนกระดาน เชื่อมโยงข้อคิดเห็นของนิสิตเข้ากับประเด็นที่กำลังอภิปราย เป็นต้น ใช้ภาษากาย เช่น การสบตา การยิ้ม การพยักหน้า เป็นต้น เพื่อแสดงออกว่าเรากำลังสนใจนิสิต
  • ใช้ ‘Token system’ ในการกระตุ้นการอภิปราย เช่น อาจารย์อาจจะแจกเหรียญให้นิสิตคนละ 3 เหรียญ เมื่อนิสิตคนหนึ่งได้แสดงความเห็นแล้วให้คืนเหรียญให้อาจารย์ เหมือนเหรียญหมดก็จะไม่สามารถแสดงความเห็นได้อีก วิธีการนี้จะช่วยลดการแสดงความเห็นที่มากของนิสิตบางคนและเพิ่มโอกาสให้นิสิตบางคนได้มีโอกาสพูดเพิ่มขึ้น
  • อาจารย์ต้องจำกัดการแสดงความคิดเห็นของตัวเอง หลังจากที่เราได้ถามคำถามนิสิตแล้วให้นับ 1-5 ในใจ (เป็นอย่างน้อย) เพื่ออดทนรอฟังคำตอบจากนิสิต
  • การรับมือกับนิสิต 3 ประเภท
    1. จำกัดนิสิตที่พูดมาก เช่น ไม่สบตา มอบหมายให้ทำหน้าที่บันทึกการอภิปราย จำกัดเวลาพูด เป็นต้น
    2. กระตุ้นนิสิตที่เงียบ เช่น ถามคำถามที่ไม่ยากมาก ถามคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด ถามข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนชั่วโมงถัดไป เข้าไปนั่งข้าง ๆ ทบทวนสิ่งที่นิสิตกลุ่มนี้ทำหรือให้ความเห็นเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของเค้า เป็นต้น
    3. กระตุ้นนิสิตที่สับสน เช่น ให้นิสิตคนนั้นพูดใหม่หรือสรุปประเด็นใหม่หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่านิสิตมีความเข้าใจจริง ๆ

Ref: https://uwaterloo.ca/centre-for-teaching-excellence/teaching-resources/teaching-tips/alternatives-lecturing/discussions/facilitating-effective-discussions

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *