Page 59 - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสำหรับประชาชน
P. 59
4. ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่สาธารณะที่มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่โดยก าหนดให้
พื้นที่เฉพาะส่วนที่ระบุ รวมถึงบริเวณทั้งหมดซึ่งวัดจากพื้นที่ที่ระบุ หรือจากประตูหน้าต่าง ทางเข้า ทางออก ท่อ
หรือช่องระบายอากาศเป็นระยะทาง 5 เมตร เป็นเขตปลอดบุหรี่
(4.1) พื้นที่ภายในและดาดฟ้าของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างของ
• ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า
• สถานที่ท างานของเอกชน
• โรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการที่มีการผลิตสินค้า
• สนามกอล์ฟ
ุ
• อุทยานประวัติศาสตร์ อทยาน หรือวนอุทยานแห่งชาติ โบราณสถานสวนพฤกษศาสตร์
พิพิธภัณฑกลางแจ้ง อนุสรณ์สถาน
์
(4.2) พื้นที่ภายในและดาดฟ้าของอาคาร โรงเรือน พื้นที่ใต้หลังคา และบริเวณชานชาลาของ
• สถานีขนส่งผู้โดยสาร
• สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟใต้ดิน สถานีรถราง
• ท่าเรือโดยสาร
(4.3) บริเวณโถงพักคอย ห้องหรือสถานที่ส าหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน และทางเดินภายในอาคาร
โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างของ
• อาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม
• ห้องเช่า หอพัก แมนชั่น อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือสถานที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน
• โรงแรม รีสอร์ท โฮมสเตย์ หรือสถานที่พักตากอากาศในลักษณะเดียวกัน
(6.4) บริเวณที่จ าหน่าย หรือให้บริการอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่มของสถานที่จ าหน่าย
อาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีระบบปรับอากาศ
2.4.10 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
เหตุผลของการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากในปัจจุบันมีการขายสินค้า หรือบริการในรูปแบบที่ผู้ขาย
จะเสนอสินค้า หรือบริการแก่ผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ท างาน จึงเป็นการสมควรที่จะมี
แนวทางในการควบคุมธุรกิจประเภทดังกล่าวให้รัดกุม ด้วยการก าหนดบทลงโทษส าหรับผู้ประกอบการที่ชัดเจน
ิ่
เพื่อป้องกันการเอาเปรียบ และคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้บริโภค และมีการแก้ไขเพมเติมเป็นพระราชบัญญัติขายตรง
และตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 สาระส าคัญของพระราชบัญญัตินี้มีดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2560b)
“ขายตรง” หมายความว่า การท าตลาดสินค้า หรือบริการในลักษณะของการน าเสนอขายต่อผู้บริโภค
โดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ท างานของผู้บริโภค หรือของผู้อน หรือสถานที่อนที่มิใช่สถานที่ประกอบ
ื่
ื่
46