Skip to content
หน้าหลัก
ประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ “ความก้าวหน้าทางด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ 6”
อบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ
อบรมหลักสูตรเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป
ประชุมวิชาการ การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอายุรกรรม 2568
ประชุมวิชาการ การออกแบบงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบยาและสุขภาพ 2568
ข้อบังคับและประกาศของศูนย์
แนวปฏิบัติการขอรับรอง CPE
เกี่ยวกับ MSU CPE
ติดต่อเรา
CPE
ศูนย์ศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ มมส.
Menu
หน้าหลัก
ประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ “ความก้าวหน้าทางด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ 6”
อบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ
อบรมหลักสูตรเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป
ประชุมวิชาการ การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอายุรกรรม 2568
ประชุมวิชาการ การออกแบบงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบยาและสุขภาพ 2568
ข้อบังคับและประกาศของศูนย์
แนวปฏิบัติการขอรับรอง CPE
เกี่ยวกับ MSU CPE
ติดต่อเรา
วิชาชีพ เภสัชกรรมเป็นวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและ ชีวิตของประชาชน เนื่องจากองค์ความรู้เกี่ยวกับยามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการ ประกอบวิชาชีพอยู่ในมาตรฐานและมีความทันสมัยอยู่เสมอ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมจึงมีมติในวาระที่ 3 (พ.ศ. 2544-2546) เห็นชอบให้มีการจัดระบบการศึกษาต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดระบบการศึกษาต่อเนื่องขึ้น ตามคำสั่งสภาเภสัชกรรมที่ 10/2544 วันที่ 23 มีนาคม 2544 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสถาบันหลักเพื่อผลิตกิจกรรมให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งมีข้อกำหนดโดยสภาเภสัชกรรมว่าจะต้องทำการจัดกิจกรรมให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง คือการประชุมวิชาการและการผลิตบทความรวมกิจกรรมละอย่างน้อย 10 หน่วยกิต จึงเห็นควรให้มีการจัดประชุมวิชาการโดยความร่วมมือกับสมาคมศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยมุ่งเน้นการเสริมความรู้ที่เป็นปัจจุบันในด้านเภสัชกรรม โดยในการจัดประชุมจะมุ่งเน้นทางด้านเภสัชกรรมปฏิบัติทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและร้านยา เพื่อให้ครอบคลุมกับการปฏิบัติงานของเภสัชกรในภาคส่วนต่างๆ อีกทั้งยังมีการรับรองการให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องจากการจัดประชุมวิชาการอื่นๆ เช่น การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพระดับชาติ การประชุมวิชาการด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ การประชุมวิชาการเภสัชกรรมคลินิก เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีการจัดทำบทความวิชาการโดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีละ 3 บทความ ซึ่งให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องจำนวนบทความละ 3-4 หน่วยกิต ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสภาเภสัชกรรมและเป็นการให้บริการวิชาการต่อสังคมซึ่งถือเป็นพันธกิจหลักที่คณะเภสัชศาสตร์มุ่งเน้นมาโดยตลอด