อบรมหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ

 

ลงทะเบียน   แนบหลักฐานการชำระเงิน 

การดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อโรค หรือ Antimicrobial resistance; AMR เป็นวิกฤติการณ์ทางสาธารณสุขทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งส่งผลทั้งต่ออัตราการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของเชื้อดื้อยาในปัจจุบัน ทำให้มีการพยายามพัฒนายาเดิมและคิดค้นยาใหม่เพื่อให้ทันต่อการรักษาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ อย่างไรก็ตามการพัฒนาหรือคิดค้นยาใหม่นั้นต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและทดลองทางคลินิก นอกจากนี้ยาใหม่ที่ได้รับการพัฒนานั้นยังไม่สามารถใช้ได้กับเชื้อดื้อยาทุกชนิด และมีการจำกัดการเข้าถึงยาใหม่ ทำให้ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอยู่ เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยาต้านจุลชีพ เนื่องจากเภสัชกรเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ตั้งแต่กระบวนการค้นคว้าพัฒนายา การจัดหาหรือผลิตยา และนอกจากนี้เภสัชกรยังมีหน้าที่ในการสืบค้น วางแผนการแก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน เช่น ข้อบ่งใช้ ขนาดการรักษา การบริหารยา ระยะเวลาการรักษา การป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ รวมถึงความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่ายและเกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูลและการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัย แก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ จึงได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ) หลักสูตรระยะสั้นเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์  โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน โดยมีความมุ่งหวังให้เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อและมีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์จากการได้รับยาต้านจุลชีพอย่างสูงที่สุด โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร อาจารย์ นักวิจัย 

ค่าลงทะเบีย

  • การประชุมวิชาการ 5,000 บาทต่อคน 1 – 9 พฤษภาคม 2568
  • การฝึกอบรมระยะสั้น 25,000 บาทต่อคน 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2568

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน

บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการและบริการวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ (โดยนางสาวชนัตถา พลอยเลื่อมแสง) เลขที่บัญชี 415-070-480-9

ดาวน์โหลดเอกสาร

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร โทรศัพท์ : 043-754360 E-mail : [email protected]

รายชื่อผู้ลงทะเบียน

นิตยา นารีจันทร์