Site Overlay

จิตวิทยาในการจัดการชั้นเรียน

Research Lunch ของงานนวัตกรรมการเรียนการสอน เรื่อง จิตวิทยาในการจัดการชั้นเรียน

โดยวิทยากร อ.ดร.สุขิริณณ์ อามาตย์บัณฑิต เมื่อวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564

เอกสารประกอบการบรรยาย คลิกที่นี่

คลิปวิดีโอบันทึกกิจกรรม คลิกที่นี่

สรุปประเด็น

1. การทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนิสิต ทำให้อาจารย์เข้าใจมีความนิสิตเพิ่มขึ้น เพราะนิสิตเองอาจมีความเครียดหรือความวิตกกังวล ส่งผลทำให้ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนได้อย่างเต็มที่
ตัวอย่างแบบประเมิน เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจอารมณ์ของนิสิต https://docs.google.com/forms/d/1k5qjSYrrj9_0x14mp3K3mEo7H46tN9vbAPnE59bSCEA/viewform?edit_requested=true

2. ความแตกต่างระหว่าง generation ของผู้สอนและผู้เรียน ผู้เรียนในยุคปัจจุบันเป็น generation Z ที่ผ่านการเรียน online และคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี แต่ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นเทียมได้ หากการบรรยายในชั้นเรียนไม่มีความน่าสนใจ ดังนั้นจึงต้องใช้เทคนิคการสอนเพิ่มเติม ได้แก่
– การมีกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีช่วยระหว่างการเรียนการสอน เช่น การให้ Application ให้นิสิตมีส่วนร่วมในชั้นเรียน หรือนิสิตทำ Clip เกี่ยวข้องกับบทเรียนผ่าน YouTube หรือ TikTok
– ต้องมีการเบรกระหว่างการสอนบรรยาย เช่น ทุก 25 นาที โดยเป็นการเบรกระหว่างการบรรยายเพื่อให้นิสิตผ่อนคลายอิริยาบถ หรือการให้ทำกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

3. การจัดการความขัดแย้งในชั้นเรียน หากเป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถจัดการให้เสร็จสิ้นได้ในชั้นเรียน ควรต้องมีคนกลางช่วยพูดคุยเสมอ ไม่ควรเป็นการพูดคุยระหว่างคู่ขัดแย้งเท่านั้น

4. การสอนบรรยายทุกครั้ง ควรมีการแจ้งแผนการสอนประจำคาบเรียนนั้น ๆ ให้นิสิตทราบและทำความตกลงร่วมกันก่อนเสมอ เพื่อให้นิสิตทราบว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละครั้งของการเรียน

5. การให้นิสิตทำงานมอบหมายเป็นงานกลุ่ม มีข้อดีคือ นอกจากเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม และฝึกทักษะการปรับตัวเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการฝึกความอดทนให้กับนิสิตอีกด้วย แต่หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *