Phone

084-2721808

Email

pharmcare.p@msu.ac.th

Opening Hours

จันทร์-ศุกร์ : 8.30 - 16.30 น.

ขิง


    โดย รองศาสตราจารย์สมศักดิ์  นวลแก้ว
  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe
  2. ชื่อวงศ์ Zingiberaceae
  3. สรรพคุณ

          เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ

ข้อควรระวัง: น้ำขิงที่เข้มข้นมากๆ จะออกฤทธิ์ตรงข้ามกัน คือระงับการบีบตัวของลำไส้ ควรใช้ในปริมาณที่พอดี

          ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น แก้ศอเสมหะ เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด บำรุงเสียงให้ไพเราะ แก้พรรดึก

          ต้น รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

          ใบ รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ์

          ดอก รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำใจให้ขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ปัสสาวะขัด

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          1. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร

          2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

          3. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

          4. ฤทธิ์ต้านอาเจียน

          5. ฤทธิ์ต้านเชื้อ Helicobacter pylori

          6. ฤทธิ์ลดการอักเสบ

การศึกษาทางคลินิก

          1. ฤทธิ์ปองกันและบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ

          2.  ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน ในหญิงตั้งครรภ์

          3.  ฤทธิ์ปองกันและบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน ในผู้ปวยหลังการผาตัด

          4.  ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน ในผู้ปวยที่ไดรับเคมีบำบัด

          5. การอาเจียนจากสาเหตุอื่นๆ

          6. ฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบ

          7. ฤทธิ์ขับลม

          8.  ฤทธิ์ขับน้ำดี

          9. ฤทธิ์ลดอาการปวดข้อ

          10.  ฤทธิ์แก้ไอ

การทดสอบความเป็นพิษ

          1. การก่อกลายพันธ์ุ

          2. พิษต่อเซลล์

          3. พิษต่อตัวอ่อน

          4. การทำให้แท้ง

          5.  การทำให้แพ้

อ่านเพิ่มเติม >> http://pharmacy.msu.ac.th/pharmcare/wp-content/uploads/2022/04/ขิง.pdf