Site Overlay

Positive communication

     

Positive communications โดย ผศ.ดร.ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์
ผู้อํานวยการศนูนย์ความเป็นเลิศทางจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม

Research lunch วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12.00-13.00 น.

ลักษณะทางกายภาพภายนอก เป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้เด็กตัดสินใจเข้ามาคุยกับเรา – ควรดูเป็นมิตร เข้าใจ เห็นอกเห็นใจโดยเฉพาะในการพบกันครั้งแรก เพื่อให้เด็กเปิดใจ ไว้วางใจและไม่กลัว ทั้งนี้ควรปรับการตอบสนอง ให้เข้ากับบุคลกลักษณะของนิสิตที่เข้ามาปรึกษาด้วย ให้อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ให้เด็กสัมผัสถึง ความจริงใจ
อย่าลืมถามความต้องการของเด็กว่า อยากให้เราช่วยอะไร เพื่อให้เข้าใจตรงกัน

5 steps to good communication skills
1. Listen ฟังอย่างตั้งใจ ให้ได้ยินถึงความรู้สึก ฟังน้ำเสียง สังเกตสีหน้า แววตาผู้พูดด้วย และตอบสนอง ด้วยความเห็นอกเห็นใจ แสดงให้ผู้ฟังเห็นว่าเราอยู่กับเขา เข้าใจเขา
2. Connect ทําให้ผู้พูดรู้สึกว่าเราสนใจในสิ่งที่เขาพูด เช่น ถามคําถาม สะท้อน ชื่นชมผู้พูดหากเป็นเรื่อง ที่น่ายินดี
3. Practice ฝึกฝน เช่น ฝึกยิ้มอย่างจริงใจ ฝึกคุยกับเพื่อน
4. Feedback ถาม feedback จากนิสิต (หากจําชื่อนิสิตได้จะดีมาก) ว่าเท่าที่คุยกันมา รู้สึกอย่างไรบ้าง
5. Stay positive ต้องเชื่อมั่นว่าเราจะช่วยพัฒนาเด็กได้

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสาร ทําหน้าที่ส่งข้อมูล
2. สาร เนื้อหา เช่น เสียง ข้อความ ภาพ — ขอให้กระชับ สั้น ชัดเจน focus ที่เรื่องที่สําคัญที่สุด
3. ช่องทาง วิธีส่งสารไปยังผู้รับ —- ถ้าเห็นหน้า ด้วยจะดี จะเห็นปฏิกิริยาทางสีหน้าของผู้พูด
4. ผู้รับ แปลความหมายของสารที่ได้รับ
หากมีโอกาสควรเช็คข้อมูลย้อนกลับเพื่อถามความรู้สึกเด็ก และเช็คว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่

ทริคสําหรับสื่อสารทางบวก
1. มีทัศนคติ/เจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
– ยอมรับในตัวนิสิต มองให้เป็นกลาง ลดอคติที่มีต่อนิสิต ให้ focus ที่ความต้องการของเราใน การช่วยเหลือนิสิต
– มองหาและหยิบยกด้านดีของนิสิตมาเป็นประเด็นเริ่มต้นในการสื่อสาร
– ปรับหน้าที่ของเราให้เป็นมิตรทั้งทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และน้ำเสียง
– สื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นิสิตพูด
2. จัดสิ่งแวดล้อมให้ดี เป็นส่วนตัว สงบ ผ่อนคลาย
– ท่านั่งไม่ควรอยู่ตรงข้ามกัน ควรนั่งเป็นมุมฉากจะทําให้ผู้พูด/นิสิต รู้สึกสบายใจขึ้น เลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงซึ่งอาจทำให้นิสิตรู้สึกอึดอัดใจ
– ไม่ควรยืนคุยกัน
– ไม่ควรมีสิ่งของกั้น
3. ใช้ภาษากายที่เหมาะสม
– ไม่ควรนั่งกอดอก แสดงท่าทางปิดกั้น ไม่ยอมรับฟัง
– สบตา พยักหน้ารับเมื่อเห็นด้วย ยิ้ม แสดงท่าทางชื่นชมในสิ่งที่ดี
4. ทักทาย
– Small talk ถามเรื่องทั่วๆ ไปก่อน แสดงความเป็นกันเอง พยายามเรียกชื่อนิสิตเพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย
5. เริ่มต้นจากข้อดี
6. สํารวจลงไปในปัญหา — focus
– สํารวจความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่จะคุยวันนี้ โดยใช้เทคนิคการถามปลายเปิด ว่าทราบไหมว่าวันนี้เราจะคุยกันเรื่องอะไร
7. ฟังอย่างตั้งใจ (active listening)
– แสดงออกโดยสนใจฟัง จดจํารายละเอียด
– พยายามเข้าใจความคิด ความรู้สึก สอบถามเมื่อสงสัย ให้ผู้เรียนขยายความ
– ถามความคิด ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นระยะ ๆ
8. หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า “ทำไม”
9. ใช้คําพูดแบบ I-you message ขึ้นต้นว่า “อาจารย์….” มากกว่า “เธอ…….”
– เช่น “อาจารย์อยากให้นิสิตเข้าเรียนตรงเวลา” ดีกว่า “ทำไมเธอมาเรียนสาย”
10. กระตุ้นให้บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ
11. ถามความรู้สึก สะท้อนความรู้สึก
12. ถามความคิด สะท้อนความคิด
13. กระตุ้นให้เล่าเรื่อง
14. ตำหนิที่พฤติกรรมมากกว่าตัวบุคคล
15. กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
16. ประคับประคองอารมณ์
17. คาดหวังด้านบวก ก่อนจบการพูดคุยควรแสดงความคาดหวังด้านบวกต่อนิสิต
18. สรุปและยุติการสนทนา วางแผนหาทางออกร่วมกัน สรุปเพื่อให้เข้าใจตรงกัน รวมถึงนัดหมายครั้งต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *